วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การทำบุณ

ชาวพุทธส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิด เกี่ยวกับเรื่องของ "บุญ" ซึ่งคิดเพียงแต่ว่า การทำบุญก็คือ การตักบาตร การถวายปัจจัย ถวายทรัพย์ การถวายสังฆทาน ฯลฯ เพียงเท่านี้เป็นต้น ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว การทำบุญยังสามารถทำได้อีกหลายทาง

"บุญ" หรือ "ปุญญ" แปลว่า ชำระ หมายถึงการทำให้หมดจด ปราศจากมลทิน เครื่องเศร้าหมอง อันได้แก่ ความโลภ (โลภะ) ความโกรธ (โทสะ) และ ความหลง (โมหะ) ซึ่งเราสามารถ สร้าง บุญ ได้ 10 ทาง ซึ่งเรียกว่า บุญกริยาวัตถุ 10 เพื่อกำจัดเครื่องเศร้าหมองทั้ง 3 ข้างต้น คือ

๑. ทาน หรือ การให้ เพื่อกำจัด ความโลภ เป็นการให้สิ่งที่ตนมี หรือ ตนเป็นเจ้าของ แก่บุคคลอื่นๆ ทั้งทรัพย์สินเงินทอง ความรู้ ความสามารถ ก็สามารถให้ได้ทั้งนั้น เช่น การตักบาตร การบริจาคทรัพย์ ถวายสังฆทาน การสอน การให้การอบรมตักเตือน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ถือเป็น การบริจาค การให้ (จาคะ) เพราะจะทำให้จิตใจสดชื่น แจ่มใส จากการให้ อย่างไม่หวังผลตอบแทน และ ไม่หวงแหน ทำลายความตระหนี่ได้ ซึ่งนับเป็นบุญอย่างหนึ่ง แต่การให้บางอย่างก็ไม่สมควรให้เพราะจะทำให้บุคคลอื่นเกิดโทษ หรือ ทำบาปได้ เช่น สุรา หรือ มหรสพ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดกามคุณ เป็นต้น

๒. ศีล หรือ การรักษาศีล เพื่อกำจัด ความโกรธ คือ ความประพฤติที่ไม่ละเมิด หรือ รักษาความสำรวม ทางกาย วาจา และ ใจไว้ อย่างเช่น การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการลักทรัพย์ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม งดเว้นจากการพูดเท็จ หรือ พูดส่อเสียด และ งดเว้นจากการดื่มสุรา หรือ เสพสิ่งเสพติด เป็นต้น

๓. ภาวนา หรือ การนั่งสมาธิ วิปัสนา เป็นการ การอบรมจิต ทำให้มีความรู้ ความเข้าใจ เพื่อกำจัด ความหลง

๔. ความเป็นผู้นอบน้อม ต่อผู้ที่ควรนอบน้อม (อปจายนะ) เมื่อเราเป็นผู้อ่อนน้อม ถ่อมตน จะทำให้จิตใจเรานั้นอ่อนโยนลง ทำให้เข้าใจถึงความสำคัญของบุคคลอื่น ไม่ทำร้ายบุคคลอื่น และ ไม่หลงตนเอง

๕. ความขวนขวายในกิจ หรือ งาน ที่ควรกระทำ (เวยยาวัจจะ) การงานที่ทำไม่ว่าทำงานอะไร การตั้งใจทำงานนั้นให้ประสบความสำเร็จ มุ่งมั่นตั้งใจ จะทำให้จิตใจของเรานั้น มีสมาธิการในช่วงเวลาของการทำงานนั้นๆ เป็นการฝึกสมาธิอีกทางหนึ่ง

๖. การให้บุญที่ตนถึงแล้ว แก่บุคคลอื่น (ปัตติทาน) เช่นการอุทิศแผ่ส่วนบุญ ส่วนกุศล การกวดน้ำ เป็นต้น การทำเช่นนี้ทำให้จิตใจเรานั้น มีความอ่อนโยน ปราถนาดีให้กับบุคคลอื่น ต้องการให้บุคคลอื่น มีความสุขเช่นเดียวกันตน เมื่อจิตใจเป็นเช่นนี้ การทำผิดศีล ก็จะไม่เกิดขึ้น อีกทั้งยังสร้างความเมตตา กรุณา ในใจของเราอีกด้วย

๗. การยินดีในบุญที่คนอื่นถึงพร้อม (ปัตตานุโมทนา) เช่น เห็นคนอื่น ทำบุญตักบาตร เมื่อเราพลอยปลื้มปิติยินดี กล่าวอนุโมทนา เพียงเท่านี้ก็ได้บุญแล้ว เพราะ การยินดีกับบุญที่บุคคลอื่นทำ นั่นหมายถึง เรามีมุทิตาจิต ทำให้จิตใจเราผ่องใสขึ้น ทำให้ละความโกรธ และ ความหลง ลงได้

๘. การฟังธรรม (ธัมมัสสวนะ) ไม่ว่าจะฟังธรรมโดยตรง หรือ จากสื่อวิทยุ โทรทัศน์ จาก CD, VDO, หรือ MP3 ก็ตาม ก็จัดว่าเป็นการฟังธรรมทั้งสิ้น การฟังธรรม และ นำธรรมะที่ได้รับนั้นไปปฏิบัติ จะทำให้เรามีจิตใจที่อ่อนโยน มีการประพฤติปฏิบัติตนได้ถูกต้อง ไม่ทำผิดศีล เกรงกลัวต่อบาป และ ยังทำให้เรามีสติ มีสมาธิ อีกด้วย

๙. การแสดงธรรม (ธัมมเทศนา) เมื่อได้ศึกษาธรรมะแล้ว การถ่ายทอดให้แก่บุคคลอื่น นับเป็นบุญประการหนึ่งด้วย เพราะได้ทำให้คนอีกหลายๆคน ได้มีมุมมองการใช้ชีวิตที่ถูกต้อง ตามธรรมะที่แสดงไปนั้น และ เท่ากับเป็นการสืบทอดพระศาสนาของพระบรมศาสดาด้วย แต่ไม่ทุกคนที่จะสามารถแสดงธรรมได้ถูกต้อง หากตนเองไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ ก็อาจจะเพียงแนะนำให้บุคคลอื่นได้ไปอ่าน ไปศึกษา หลักธรรม เพียงเท่านี้ ก็ได้บุญแล้วเช่นกัน
"การให้ธรรมะ ชนะการให้ทั้งปวง"


๑๐. การกระทำความเห็นให้ตรง หรือ สัมมาทิฏฐิ (ทิฏฐุชุกรรม) การมีความคิดเห็นที่ตรง ที่ถูกต้องนั้น จะทำให้เราประพฤติปฏิบัติตน เป็นคนดี สามารถละเว้นความชั่ว หรือ ทิฏฐิ ของตนได้ ซึ่งเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีความคิดเห็นที่ตรงนั้น ต้องศึกษาอย่างจริงๆจังๆ และ ต้องหัดสังเกตุตนเองอยู่บ่อยๆ เมื่อทำเช่นนี้ ก็จะทำให้เรา สติ อยู่กับตนเอง การมีสติ ก็จะทำให้เรางดเว้นการทำบาปทั้งปวงเช่นกัน




เทคโนโลยี

เทคโนโลยี หรือ ประยุกตวิทยา [1] หรือ เทคนิควิทยา [2] มีความหมายค่อนข้างกว้าง โดยทั่วไปหมายถึง การนำความรู้ทางธรรมชาติวิทยาและต่อเนื่องมาถึงวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่งองค์ความรู้นามธรรมเช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น [2]
เทคโนโลยีก่อเกิดผลกระทบต่อสังคมและในพื้นที่ที่มีเทคโนโลยีเข้าไปเกี่ยวข้องในหลายรูปแบบ เทคโนโลยีได้ช่วยให้สังคมหลาย ๆ แห่งเกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากขึ้นซึ่งรวมทั้งเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน ในหลาย ๆ ขั้นตอนของการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีได้ก่อให้ผลผลิตที่ไม่ต้องการ หรือเรียกว่ามลภาวะ เกิดการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีหลาย ๆ อย่างที่ถูกนำมาใช้มีผลต่อค่านิยมและวัฒนธรรมของสังคม เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นก็มักจะถูกตั้งคำถามทางจริยธรรม
  เทคโนโลยี (Technology) คือ การใช้ความรู้ เครื่องมือ ความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการตลอดจน ผลงานทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ่งประดิษฐ์และวิธีการ มาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่ง ขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น

Technology

การนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานในสาขาใดสาขาหนึ่งนั้นเทคโนโลยี มีความสำคัญ 3 ประการ คือ
          1.ประสิทธิภาพ (Efficiency) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้ เที่ยงตรงและรวดเร็ว
          2.ประสิทธิผล (Productivity) เกิดผลผลิตเต็มที่ ได้ประสิทธิผลสูงสุด
          3.ประหยัด (Economy) ประหยัดทั้งเวลาและแรงงาน ลงทุนน้อยแต่ได้ผลมาก

ความสำคัญของเทคโนโลยี
          1.เป็นพื้นฐานปัจจัยจำเป็นในการดำเนินชีวิตของมนุษย์
          2.เป็นปัจจัยหลักที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนา
          3.เป็นเรื่องราวของมนุษย์ และธรรมชาติ

          ในช่วงสองทศวรรษทีผ่านมา วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี ได้มีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้นจนสามารถสร้างนวัตกรรม (Innovation) ซึงก็คือ การเรียนรู้ การผลิตและ การใช้ประโยชน์จากความคิดใหม่ ให้เกิดผลทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม เทคโนโลยีทำให้สังคมโลกทีเ รียบง่าย กลายเป็นสังคมที่มีการดำรงชีวิตที สลับซับซ้อนมากขึ้น ก่อให้เกิดกระแสแห่งความไร้พรมแดน หรือกระแสโลกาภิวัฒน์ ทีเข้ามาสู่ทุกประเทศอย่าง รวดเร็ว จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ อันเป็นการผสมผสาน 4 ศาสตร์ เข้าด้วยกันได้แก่ อิเล็อทรอ นิกส์ โทรคมนาคม และข่าวสาร (Electronics , Computer ,Telecomunication and Information หรือเรียกย่อๆ ว่า ECTI ) ทำให้สังคมโลกสามารถสื่อสารกันได้ทุกแห่งทั่วโลกอย่างรวดเร็ว สามารถรับรู้ข่าวสาร ความเคลื อนไหวต่างๆ ได้พร้อมกัน สามารถบริหารจัดการและตัดสินใจได้ทุกขณะเวลา การลงทุนค้าขาย และธุรกรรมการเงินทได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น เทคโนโลยี กำลังทำให้โลกใบนี้ “เล็กลง” ทุกขณะ

วิวัฒนาการเทคโนโลยี (Evolution of Technolgy)
          เทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาเมื่อเวลาผ่านไปขั้นตอนการเปลี่ยนนแปลงขึ้นอยู่กับกระบวนการทางวิวัฒนาการ (Evolution) ของระบบหรือเครื่องมือนั้นๆ ดังนั้นคำว่าวิวัฒนาการของเทคโนโลยี (Evolution of Technology) จึงหมายถึง ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบหรือเครื่องมือที่เกิดขึ้นอย่างซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงตามลำดับอย่างต่อเนื่องอันมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่างๆ

วิวัฒนาการสามารถแบ่งได้เป็น 5 ยุค
          - ยุคหิน (Stone age)
          - ยุคทองสัมฤทธิ์ ( Bronze age)
          - ยุคเหล็ก (Iron age)
          - ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution)
          - ยุคศตวรรษที่ 20 (The 20th Century)

ความสัมพันธ์ระหว่าง เทคโนโลยี กับ นวัตกรรม
          คำว่า นวัตกรรม เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับ เทคโนโลยี เสมอๆ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Innotech ความจริงแล้ว นวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเนื่องจากนวัตกรรมเป็นเรื่องของการคิดค้นหรือการกระทำใหม่ ๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นซึ่งอาจจะอยู่ในขั้นของการเสนอความคิดหรือในขั้นของการทดลองอยู่ก็ได้ ยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของสังคม ส่วนเทคโนโลยีนั้นมุ่งไปที่การนำสิ่งต่าง ๆรวมทั้งวิธีการเข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำงาน หรือแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ถ้าหากพิจารณาว่านวัตกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นี้น่าจะนำมาใช้ การนำเอานวัตกรรมเข้ามาใช้นี้ ก็จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีด้วย และในการใช้เทคโนโลยีนี้ถ้าเราทำให้เกิดวิธีการหรือสิ่งใหม่ๆ ขึ้น สิ่งนั้นก็เรียกว่าเป็นนวัตกรรม เราจึงมักเห็นคำ นวัตกรรม และ เทคโนโลยี อยู่ควบคู่กันเสมอ

ASEAN


ในสภาวะแห่งยุคทุนนิยม ที่เศรษฐกิจเป็นตัวขับเคลื่อนและผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ ก้าวรุดไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ประกอบกับประเทศต่าง ๆ นั้นอยู่รวมกันเป็นสังคมโลก ไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวเดียวดายได้ จึงต้องมีการรวมตัวกันของประเทศในแต่ละภูมิภาคเพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรองและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ร่วมและพัฒนาประเทศในภูมิภาคไปพร้อม ๆ กัน ด้วยเหตุนี้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน จึงได้มีข้อตกลงให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)

          แต่ก่อนที่เราจะมาดูเนื้อหาสาระของการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนนี้ เราจะมาย้อนดูกันรวมตัวกันของประเทศในอาเซียนว่ามีการรวมตัวกันได้อย่างไร จนมาเป็นอาเซียนในปัจจุบัน

          โดยอาเซียนหรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปีพ.ศ.2527 บรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538  ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ.2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อ พ.ศ. 2542  ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ


เศรษฐกิจพอเพียง


เศรษฐกิจพอเพียง เวปไซต์แห่งนี้ ได้รวบรวมข้อมูลและเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับ เศรษฐกิจพอเพียง ไว้อย่างครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นในด้านประวัติความเป็นมา หรือจุดเริ่มต้นที่ก่อเกิดเศรษฐกิจพอเพียงขึ้นมา ในด้านความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง พระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โครงการต่างๆที่เนื่องมาจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเราได้รวมเอาบุคคลตัวอย่าง ข้อสอบ บทกลอน และเรียงความเศรษฐกิจพอเพียง มาใว้ที่นี่ที่เดียว โดยเนื้อหาต่างๆดังที่กล่าวมา ท่านสามารถเลือกหาหัวข้อที่ท่านสนใจที่เมนูด้านซ้ายมือได้เลย

เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง

ในส่วนของบทความเกี่ยวกับการเกษตร เราได้รวมเอาเทคนิค และวิธีการในการทำการเกษตร ไม่ว่าจะเป็น ทั้งในด้านการปลูกพืช และด้านการเลี้ยงสัตว์ ยกตัวอย่าง เช่น การเลี้ยงปลาดุกในบ่ซีเมนต์ การเลี้ยงหมูหลุม การเลี้ยงเป็ด การเลี้ยงไก่ การเลี้ยงหมู การเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจต่างๆ การปลูกผักหวานป่า การปลูกกล้วย การปลูกไผ่หวาน การปลูกพืชเศรษฐกิจต่างๆ รวมถึง วิธีการดูแลจัดการต่างๆ ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากเกษตรกรที่ได้ทดลองแล้วได้ผล หรือที่เรียกว่า ปราชญ์ชาวบ้าน เช่น การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ไว้ใช้เอง เพื่อลดต้นทุน การทำจุลินทรีย์ในการปลูกพืชเพื่อเพิ่มผลผลิต และลดต้นทุนในการทำการเกษตร รวมทั้งการใช้วิธีธรรมชาติ ในการจัดการกับโรค แมลง เพื่อความสมดุลย์

เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง

ในส่วนของ เวปบอร์ดนั้น จะเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนความรู้ของเกษตรกร และบุคคลทั่วไปที่สนใจในด้านการเกษตร ที่นำมาแลกเปลี่ยนกัน รวมทั้งจะมี ในส่วนของการซื้อขายแลกเปลี่ยน สินค้าเกษตร เช่น ขายเมล็ดพันธุ์ เป็นต้น และในส่วนเวปบอร์ด นี้จะจัดให้มีส่วน ความรู้ทั่วๆไป ข่าวสาร และในส่วนของการสนทนาทั่วๆไป เพื่อความเป็นกันเองของท่านสมาชิก และถ้าสมาชิกท่านใด ต้องการในส่วนใหนเพิ่มเติม ก็ส่งข้อความมาหาเวปมาสเตอร์ได้เลย

เนื้อหาสาระเกี่ยวกับ เศรษฐกิจพอเพียง และในส่วนอื่นๆที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อความสะดวกในการค้นหา ท่านสามารถเลือกอ่านได้