วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

พระเครื่อง

พระเครื่อง พระเครื่องรางของขลัง ตามความหมายเดิมแต่โบราณ อธิบายให้เข้าใจได้ง่ายๆคือ เป็นทั้งพระเครื่องที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ในการทำความดี และเป็นเครื่องราของขลังที่ใช้ป้องกันตัว ซึ่งในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานก็ได้ให้ความหมายของพระเครื่องไว้ทำนองนี้เช่นกัน
ในวันนี้จึงได้รวบรวมเครื่องรางของขลังที่ถือว่าเป็นสุดยอดทางคงกระพันชาตรี แคล้วคลาดและเป็นมหาอุด ที่ตำรวจและผู้ร้ายต่าง ให้ความเคารพและนับถือกันเป็นพิเศษ มาให้ได้ไขรหัสลับกันในวันนี้ คือ
1. พระปรุหนัง ในคอของขุนพันธุ์และเสือฝ้าย อาจจะเป็นไปได้ทั้งประสบการณ์และศรัทธาที่ตรงกัน ทำให้ขุนพันธรักษราชเดช และ เสือฝ้าย มีความเชื่อในพระปรุหนังมากที่สุด ท่านขุนพันธุ์ แขวนพระเครื่องปรุหนังติดตัวเป็นองค์ประธาน ของพระเครื่องอีกหลายองค์ในสร้อยเส้นเดียวกัน แม้ว่าจะเกษียณอายุแล้วท่านขุนพันธ์ ก็ยังแขวนพระปรุหนังติดตัวเสมอ ในขณะะที่เสือฝ้าย แขวนพระปรุหนังจนนาทีสุดท้ายของชีวิตที่ตำรวจต้องนำพระเครื่องปรุหนัง ออกจากคอเสือฝ้าย ก่อนที่จะลงมือสังหาร
พระเครื่องปรุหนังเป็นพระเครื่องสมัยอยุธยายุคต้น สร้างขึ้นมาท่านกลางกลิ่นอาย ของสงครามมีพุทธศิลป์งดงามมาก มีสร้างทั้งชนิดเนื้อ ชิน และชนิดชินปนตะกั่ว รวมทั้งเนื้อดินเผาด้วย พบครั้งแรก ที่กรุวัดพุทไธศวรรย์เมื่อพ.ศ. 2450 และค้นพบในวัดอื่นๆอีกหลายวัด ที่จังหวัดอยุธยามีชื่อเสียงด้านแคล้วคลาด และคงกระพัน มหาอุด มานานแล้ว
2.พระนางพญา ยอดพระเครื่องที่ชนะใจ มืือปราบปืนโหด ร.ต.อ.ยอดยิ่ง สุวรรณกร ผู้เป็นผู้สังหารเสือฝ้ายนั่นเอง เอ่ยชื่อนายตำรวจท่านนี้ บรรดาเสือต่างๆในยุคเสือฝ้าย ต้องพากันหัวหด เพราะตำรวจมือปราบท่านนี้ได้รับฉายาว่ามือปราบปืนโหด หรือ สิงห์ปืนสั่ง คือเดินหน้าฆ่าโจรลูกเดียว ไม่ชอบการจับเป็น และที่สำคัญเขาคือผู้สังหารเสือฝ้ายเสือร้าย เมืองสุพรรณบุรี ปกติร.ต.อ. ยอดยิ่งจะเป็นคนเชื่อมั่นในตนเองสูงและไม่เคยเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ จนได้ประสบกับตนเองว่าปืนไม่สามารถฆ่าเสือร้ายบางคนได้ อันเนื่องมาจากความศักดิ์สิทธิ์ของพระเครื่องรางของขลังในตัวเสือร้าย โดยท่านเล่าไว้ว่ามีครั้งหนึ่งที่ท่านไล่ล่าตามจับคนร้ายที่แขวนพระสมเด็จนางพญา ทำยังไงก็ไม่สามารถพิชิตชีวิต คนร้ายคนนี้ได้ มืหนำซ้ำ ยังเกือบถูกคนร้ายเล่นงานเอาแทบแย่ ท่านจึงมีความศัธทาในพระนางพญาเป็นอันมาก จึงไปขอพระนางพญามาจาก ตรียัมปวาย หรือ พ.อ.ประจน กิติประวัติ ปรมาจารณ์ ทางพระเครื่อง ที่โด่งดัง ของเมืองไทย ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทกบร.ต.อ. ยอดยิ่ง มาไว้บูชา นับแต่นั้นเป็นต้นมา
พระนางพญาเป็นพระเครื่องเนื้อดินเผา สมัยอยุธยา พบที่วัดนางพญาจังหวัดพิษณุโลก สันนิษฐานว่าสร้างโดยพระวิสุทธฺกษัตรี พระมเหสี ของพระมหาธรรมราชา ซึ่งเป็นพระมารดา ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระเครื่องนางพญานี้มีชื่อเสียงครอบคลุม ในทุกๆด้าน
3 . พระท่ากระดาน ของรักของหวง ของนายพล หนังเหนียว พล.ต.ท.ประชา บูรณธนิต ผู้พิชิต เสือผาด ท่านเป็นเพื่อนสนทกับท่านขุนพันธ์ ที่มาปาฎิหารย์ และความศักดิ์สิทธิ์ของพระท่ากระดาน มีที่มามาจากการที่ท่านพล.ต.ท. ประชาได้ดวลปืนกับคนร้าย ที่จังหวัดนครปฐม ตัวท่านถูกกระสุนปืนจากปืนของคนร้าย หลายนัด แต่ลูกปืนไม่ระคายผิว โดยที่ในขณะนั้น ท่านแขวนพระท่ากระดาน กับลูกอม ของหลวงปู่เหรียญวัดหนองบัว
พระท่ากระดาน เป็นพระเครื่องตะกั่วสนิมแดง พบครั้งแรก ที่ตำบลท่ากระดาน จัหวัดกาญจนบุรี ที่วัดเหนือ วัดกลาง และวัดใต้ ซึ่งถือว่าเป็นกรุ ต้นกำเนิด มีพุทธคุณเด่นดัง ทางมหาอุด แคล้วคลาด คงกระพัน
4.พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า พระเครื่องที่เสือไท เสียบไว้ที่ซอกฟัน เอ่ยชื่อพระเครื่องชนิดนี้ไม่มีนักเลงพระคนไหน ไม่รู้จัก เพราะพระเครื่องที่มีขนาดเล็ก เท่าเเม็ดข้าวเม่านี้ มีพุทธคุณเข้มขลังมาก พระองค์นี้มีความเกี่ยวพันธ์กับบุคคลหลายคนในวงการตำรวจ โดยเสือโน้ม มีความนิยมในพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าเป็นที่สุด ได้ฝังพระนี้ไว้ในตัวเองถึง5จุด จนอาวุธปืนของท่านขุนพันธ์ และตำรวจไม่สามารถ ทำอะไรเสือโน้มได้ จนต้องจับหมอโน้ม ถ่วงน้ำ นอกจากนี้เสือไท หรือพ่อหลิม อาจารย์ของขุนพันธ์ท่านก็บูชาพระพิจีตรเม็ดข้าวเม่านี้อยู่โดยใช้เสียบไว้ที่ซอกฟัน และพระพิจิตรนี้ก็เป็นหนึ่งในพระเครื่องที่อยู่ที่คอของขุนพันธ์เช่นกันพระ
พิจิตรเม็ดข้าวเม่านี้ เป็นพระเครื่องชินเงิน และชินเขียว เชื่อกันว่า มีส่วนผสมของเหล็กไหล ธาตุกายสิทธิ์อยู่ด้วย ในปัจจุบันหายากมาก พระบางองค์มีเกศที่คดโค้ง จึงเป็นที่มาของคำว่าพระพิจิตรเกศคด
5.พระมเหศวร พระมเหศวร คือพระเครื่องที่ตั้งชื่อ ตามชื่อโจร แต่เดิม มีชื่อว่าพระสวน ตามลักษณะของพระ ที่เป็นสองหน้า มีพระด้านละองค์ และหันเศียรกลับด้าน กลับหัวกลับหางกัน กัน เศียรหนึ่งขึ้น เศียรหนึ่งลง จึงเรียกกันว่าพระสวน หรือพระสวนทางนั่นเอง แต่ต่อมามีโจรชื่อ มเหศวร มีความนับถือ พระองค์นี้มาก และได้บูชาติดตัว จนมีชื่อเสียงโด่งดัง ผู้คนจึงพากันเปลี่ยนชื่อจากพระสวน มาเป็นพระมเหศวร ตามชื่อเสือที่เป็นโจรชื่อดัง ในชุมโจรเสือฝ้าย แห่งสุพรรณบุรี
พระมเหศวร เป็นพระเครื่องเนื้อชินเงิน และเนื้อชินเขียว เชื่อว่ามีการจัดสร้างมาตั้งแต่สมัย อู่ทองตอนปลาย พบครั้งแรก ที่กรุวัดพระศรีมหาธาตุ สุพรรณบุรี มีชื่อเสียง ด้านคงกระพัน มหาอุด สูงมาก ใครที่มีความรู้จักมักคุ้น กับแอ๊ด คารบาว หรือคุณ ยืนยง โอภากุล ก็ลองขอเขาดูได้
6. หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ. พิจิตร ของรัก ของหวง ของเสือใบ เสือใบ หนึ่งในเสือสุพรรณเล่าไว้ว่า ที่เขารอดตายมาหลายครั้งจากคมกระสุน ของตำรวจ เพราะเขามี พระเครื่องรูปลอยองค์ ของหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน และมีประสบการณจากหลวงพ่อเงินนับครั้งไม่ถ้วน ในคอของเสือใบ เขาจะไม่ยอมขาดองค์หลวงพ่อเงินเด็ดขาด
ท่านหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ เป็นเกจิอาจารย์ จังหวัดพิจิตร์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก และเป็น สหธรรมิก กับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท โดยทั้งสององค์นี้เป็นพระอาจารย์ของเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
ปัจจุบันพระเครื่องหลวงพ่อเงิน จัดเป็นพระเครื่องรูปเหมือน เกจิอาจารย์ ที่มีค่านิยมสูงสุด
นอกจากพระเครื่องที่กล่ามาแล้วนี้ ยังมีพระเครื่องอีกมากมาย ที่มีพุทธคุณ ที่ทั้งตำรวจและผู้ร้าย ต่างดิ้นรน ที่จะมีไว้ในครอบครอง เป็นเรื่องแปลกแต่จริง ที่บางครั้งทั้งตำรวจและโจรแขวนพระองค์เดียวกัน แต่มีพฤติกรรม และวิถีชีวิต ที่แตกต่างกันราวกับหน้ามือ เป็นหลังมือ
 



ปลาสวยงาม

                                                                          ปลาสวยงาม                                                                                        ไม่มีหลักฐานใดที่ยืนยันแน่ชัดว่า มนุษย์เริ่มรู้จักเลี้ยงปลามาตั้งแต่เมื่อใด โดยนักโบราณคดีได้ค้นพบบ่อปลาที่เก่าแก่ที่สุดในยุคสุเมเรียนซึ่งมีอายุกว่า 4,500 ปีมาแล้ว และปลาชนิดแรกที่เชื่อว่าเป็นปลาที่มนุษย์ได้เลี้ยงคือ ปลาคาร์ป ซึ่งทั้งหมดนี้มีไว้เพื่อการบริโภค[1]
สำหรับการเลี้ยงไว้เพื่อความสวยงาม ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มต้นขึ้นเมื่อใดอีกเช่นกัน ในประเทศจีนและญี่ปุ่นได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ปลาทอง รวมถึงปลาคาร์ป ให้มีรูปร่างและสีสันที่สวยงามแตกต่างไปสายพันธุ์ดั้งเดิมที่มีอยู่ในธรรมชาติ มาแล้วไม่ต่ำกว่า 300-400 ปี โดยมีการส่งออกไปทวีปยุโรปตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 และถูกส่งมาเป็นบรรณาการในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในศตวรรษที่ 19 ด้วย





อาณาจักรล้านนา

อาณาจักรล้านนา
สมัยหิรัญนครเงินยาง อาณาจักรล้านนามีความเป็นมาหลังจากที่พญามังรายได้รวบรวมหัวเมืองต่างๆ อันมีเจ้าเมืองที่มีเชื้อสายมาจากวงศ์ลวจังกราชด้วยกันจนเป็นปึกแผ่นในอาณาจักรหิรัญนครเงินยาง ต่อมาได้ตีอาณาจักรหิรภุญไชยแล้วผนวกเข้าไว้ในอาณาจักรด้วยนับเป็นการเริ่มต้นของอาณาจักรไปอยู่ที่เมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ ทำให้เมืองเชียงรายซึ่งเดิมนั้นเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรหิรัญนครเงินยางได้ลดความสำคัญลงไปในระยะหลังๆ
ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า เมืองเชียงรายเป็นเมืองแห่งจุดเริ่มต้นที่ก่อให้เกิดเป็นอาณาจักรล้านนา ดังมีคำกล่าวว่า ถ้าไม่มีเชียงราย คงไม่มีเชียงใหม่ ในปัจจุบัน 
 


ประวัติพระพุทธเจ้า

ประวัติพระพุทธเจ้า : ชีวิตในวัยเด็ก


เจ้าชายสิทธัตถะทรงศึกษาเล่าเรียนจนจบศิลปศาสตร์ทั้ง 18 ศาสตร์ ในสำนักครูวิศวามิตร และเนื่องจากพระบิดาไม่ประสงค์ให้เจ้าชายสิทธัตถะเป็นศาสดาเอกของโลก จึงพยายามทำให้เจ้าชายสิทธัตถะพบเห็นแต่ความสุข โดยการสร้างปราสาท 3 ฤดู ให้อยู่ประทับ และจัดเตรียมความพร้อมสำหรับการราชาภิเษกให้เจ้าชายขึ้นครองราชย์

เมื่อมีพระชนมายุ 16 พรรษา ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางพิมพา หรือยโสธรา พระธิดาของพระเจ้ากรุงเทวทหะซึ่งเป็นพระญาติฝ่ายพระมารดา จนเมื่อมีพระชนมายุ 29 พรรษา พระนางพิมพาได้ให้ประสูติพระราชโอรส มีพระนามว่า "ราหุล" ซึ่งหมายถึง "บ่วง"


ประวัติพระพุทธเจ้า : เสด็จออกผนวช


ประวัติพระพุทธเจ้า


วันหนึ่งเจ้าชายสิทธัตถะทรงเบื่อความจำเจในปราสาท 3 ฤดู จึงชวนสารถีทรงรถม้าประพาสอุทยาน ครั้งนั้นได้ทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช โดยเทวทูต (ทูตสวรรค์) ที่แปลงกายมา พระองค์จึงทรงคิดได้ว่า นี่เป็นธรรมดาของโลก ชีวิตของทุกคนต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนั้น ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงเกิด แก่ เจ็บ ตายได้ จึงทรงเห็นว่าความสุขทางโลกเป็นเพียงภาพมายาเท่านั้น และวิถีทางที่จะพ้นจากความทุกข์ คือต้องครองเรือนเป็นสมณะ ดังนั้นพระองค์จึงใคร่จะเสด็จออกบรรพชา ในขณะที่มีพระชนม์ 29 พรรษา
ครานั้นพระองค์ได้เสด็จไปพร้อมกับนายฉันทะ สารถี ซึ่งเตรียมม้าพระที่นั่ง นามว่ากัณฑกะ มุ่งตรงไปยังแม่น้ำอโนมานที ก่อนจะประทับนั่งบนกองทราย ทรงตัดพระเมาลีด้วยพระขรรค์ และเปลี่ยนชุดผ้ากาสาวพัตร์ (ผ้าย้อมด้วยรสฝาดแห่งต้นไม้) และให้นายฉันทะ นำเครื่องทรงกลับพระนคร ก่อนที่พระองค์จะเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ (การเสด็จออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่) ไปโดยเพียงลำพัง เพื่อมุ่งพระพักตร์ไปยังแคว้นมคธ


ประวัติพระพุทธเจ้า : บำเพ็ญทุกรกิริยา


หลังจากทรงผนวชแล้ว พระองค์มุ่งไปที่แม่น้ำคยา แคว้นมคธ ได้พยายามเสาะแสวงทางพ้นทุกข์ ด้วยการศึกษาค้นคว้าทดลองในสำนักอาฬารดาบส กาลามโครตร และอุทกดาบส รามบุตร แต่เมื่อเรียนจบทั้ง 2 สำนักแล้ว ทรงเห็นว่านี่ยังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์

จากนั้นพระองค์ได้เสด็จไปที่แม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลอุรุเวลาเสนานิคม และทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ด้วยการขบฟันด้วยฟัน กลั้นหายใจและอดอาหาร จนร่างกายซูบผอม แต่หลังจากทดลองได้ 6 ปี ทรงเห็นว่านี่ยังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ จึงทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา และหันมาฉันอาหารตามเดิม ด้วยพระราชดำริตามที่ท้าวสักกเทวราชได้เสด็จลงมาดีดพิณถวาย 3 วาระ คือดีดพิณสายที่ 1 ขึงไว้ตึงเกินไปเมื่อดีดก็จะขาด ดีดพิณวาระที่ 2 ซึ่งขึงไว้หย่อน เสียงจะยืดยาดขาดความไพเราะ และวาระที่ 3 ดีดพิณสายสุดท้ายที่ขึงไว้พอดี จึงมีเสียงกังวานไพเราะ ดังนั้นจึงทรงพิจารณาเห็นว่า ทางสายกลางคือไม่ตึงเกินไป และไม่หย่อนเกินไป นั่นคือทางที่จะนำสู่การพ้นทุกข์
หลังจากพระองค์เลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา ทำให้พระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยา มหานามะ อัสสชิ ที่มาคอยรับใช้พระองค์ด้วยความคาดหวังว่าเมื่อพระองค์ค้นพบทางพ้นทุกข์ จะได้สอนพวกตนให้บรรลุด้วย เกิดเสื่อมศรัทธาที่พระองค์ล้มเลิกความตั้งใจ จึงเดินทางกลับไปที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ตำบลสารนาถ เมืองพาราณสี


ประวัติพระพุทธเจ้า : ตรัสรู้



ประวัติพระพุทธเจ้า

ครานั้นพระองค์ทรงประทับนั่งขัดสมาธิ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ อุรุเวลาเสนานิคม เมืองพาราณสี หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก และตั้งจิตอธิษฐานด้วยความแน่วแน่ว่าตราบใดที่ยังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ก็จะไม่ลุกขึ้นจากสมาธิบัลลังก์ แม้จะมีหมู่มารเข้ามาขัดขวาง แต่ก็พ่ายแพ้พระบารมีของพระองค์กลับไป จนเวลาผ่านไปในที่สุดพระองค์ทรงบรรลุรูปฌาณ คือ ครานั้นพระองค์ทรงประทับนั่งขัดสมาธิ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ อุรุเวลาเสนานิคม เมืองพาราณสี หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก และตั้งจิตอธิษฐานด้วยความแน่วแน่ว่าตราบใดที่ยังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ก็จะไม่ลุกขึ้นจากสมาธิบัลลังก์ แม้จะมีหมู่มารเข้ามาขัดขวาง แต่ก็พ่ายแพ้พระบารมีของพระองค์กลับไป จนเวลาผ่านไปในที่สุดพระองค์ทรงบรรลุรูปฌาณ คือ

ยามต้น หรือปฐมยาม ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือ สามารถระลึกชาติได้

ยามสอง ทางบรรลุจุตูปปาตญาณ (ทิพยจักษุญาณ) คือ รู้เรื่องการเกิดการตายของสัตว์ทั้งหลายว่าเป็นไปตามกรรมที่กำหนดไว้

ยามสาม ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ หรือกิเลส ด้วยอริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค และได้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นศาสดาเอกของโลก ซึ่งวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ ตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ขณะที่มีพระชนม์ 35 พรรษา


ประวัติพระพุทธเจ้า : แสดงปฐมเทศนา

หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ทรงพิจารณาธรรมที่พระองค์ตรัสรู้มาเป็นเวลา 7 สัปดาห์ และทรงเห็นว่าพระธรรมนั้นยากต่อบุคคลทั่วไปที่จะเข้าใจและปฏิบัติได้ พระองค์จึงทรงพิจารณาว่า บุคคลในโลกนี้มีหลายจำพวกอย่าง บัว 4 เหล่า ที่มีทั้งผู้ที่สอนได้ง่าย และผู้ที่สอนได้ยาก พระองค์จึงทรงระลึกถึงอาฬารดาบสและอุทกดาบส ผู้เป็นพระอาจารย์ จึงหวังเสด็จไปโปรด แต่ทั้งสองท่านเสียชีวิตแล้ว พระองค์จึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 ที่เคยมาเฝ้ารับใช้ จึงได้เสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน

ธรรมเทศนากัณฑ์แรกที่พระองค์ทรงแสดงธรรมคือ "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" แปลว่าสูตรของการหมุนวงล้อแห่งพระธรรมให้เป็นไป ซึ่งถือเป็นการแสดงพระธรรมเทศนาครั้งแรก ในวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งตรงกับวันอาสาฬหบูชา

ในการนี้พระโกณฑัญญะได้ธรรมจักษุ คือดวงตาเห็นธรรมเป็นคนแรก พระพุทธองค์จึงทรงเปล่งวาจาว่า "อัญญาสิ วตโกณฑัญโญ" แปลว่า โกณฑัญญะได้รู้แล้ว ท่านโกณฑัญญะ จึงได้สมญาว่า อัญญาโกณฑัญญะ และได้รับการบวชเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา โดยเรียกการบวชที่พระพุทธเจ้าบวชให้ว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา"
หลังจากปัญจวัคคีย์อุปสมบททั้งหมดแล้ว พุทธองค์จึงทรงเทศน์อนัตตลักขณสูตร ปัญจวัคคีย์จึงสำเร็จเป็นอรหันต์ในเวลาต่อมา


ประวัติพระพุทธเจ้า : การเผยแผ่พระพุทธศาสนา


ต่อมาพระพุทธเจ้าได้เทศน์พระธรรมเทศนาโปรดแก่ยสกุลบุตร รวมทั้งเพื่อนของยสกุลบุตร จนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด รวม 60 รูป

พระพุทธเจ้าทรงมีพระราชประสงค์จะให้มนุษย์โลกพ้นทุกข์ พ้นกิเลส จึงตรัสเรียกสาวกทั้ง 60 รูป มาประชุมกัน และตรัสให้พระสาวก 60 รูป จาริกแยกย้ายกันเดินทางไปประกาศศาสนา 60 แห่ง โดยลำพัง ในเส้นทางที่ไม่ซ้ำกัน เพื่อให้สามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้ในหลายพื้นที่อย่างครอบคลุม ส่วนพระองค์เองได้เสด็จไปแสดงธรรม ณ ตำบลอุรุเวลา เสนานิคม
หลังจากสาวกได้เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในพื้นที่ต่างๆ ทำให้มีผู้เลื่อมใสพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก พระองค์จึงทรงอนุญาตให้สาวกสามารถดำเนินการบวชได้ โดยใช้วิธีการ "ติสรณคมนูปสัมปทา" คือ การปฏิญาณตนเป็นผู้ถึงพระรัตนตรัย พระพุทธศาสนาจึงหยั่งรากฝังลึกและแพร่หลายในดินแดนแห่งนั้นเป็นต้นมา


ประวัติพระพุทธเจ้า : เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน


ประวัติพระพุทธเจ้า


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดสัตว์และแสดงพระธรรมเทศนา ตลอดระยะเวลา 45 พรรษา ทรงสดับว่า อีก 3 เดือนข้างหน้าจะปรินิพพาน จึงได้ทรงปลงอายุสังขาร ขณะนั้นพระองค์ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวลาสี แคว้นวัชชี โดยก่อนเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน 1 วัน พระองค์ได้เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะทำถวาย แต่เกิดอาพาธลง ทำให้พระอานนท์โกรธ แต่พระองค์ตรัสว่า "บิณฑบาตที่มีอานิสงส์ที่สุด มี 2 ประการ คือ เมื่อตถาคต (พุทธองค์) เสวยบิณฑบาตแล้วตรัสรู้ และปรินิพพาน" และมีพระดำรัสว่า "โย โว อานนท ธมม จ วินโย มยา เทสิโต ปญญตโต โส โว มมจจเยน สตถา" อันแปลว่า "ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยอันที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว"

พระพุทธเจ้าทรงประชวรหนัก แต่ทรงอดกลั้นมุ่งหน้าไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน โดยก่อนที่จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานนั้น พระองค์ได้อุปสมบทแก่พระสุภัททะปริพาชก ซึ่งถือได้ว่า "พระสุภภัททะ" คือสาวกองค์สุดท้ายที่พระพุทธองค์ทรงบวชให้ ในท่ามกลางคณะสงฆ์ทั้งที่เป็นพระอรหันต์ และปุถุชนจากแคว้นต่างๆ รวมทั้งเทวดา ที่มารวมตัวกันในวันนี้

ในครานั้นพระองค์ทรงมีปัจฉิมโอวาทว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราขอบอกเธอทั้งหลาย สังขารทั้งปวงมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา พวกเธอจึงทำประโยชน์ตนเอง และประโยชน์ของผู้อื่นให้สมบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด" (อปปมาเทน สมปาเทต)
จากนั้นได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ใต้ต้นสาละ ณ สาลวโนทยาน ของเหล่ามัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 รวมพระชนม์ 80 พรรษา และวันนี้ถือเป็นการเริ่มต้นของพุทธศักราช

มรรค 8

มรรค 8 คือหนทางแห่งการดับทุกข์ เป็นหลักธรรมข้อสุดท้ายของอริยสัจ 4 มรรคนั้นมีอยู่ 8 ประการด้วยกัน

พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสถึงอริยสัจ 4 อันประกอบไปด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค ซึ่งนี้คือหนทางแห่งการดับทุกข์นั่นเอง เป็นหนทางหรือหลักพื้นฐานที่จะทำให้คนเราพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                     มรรค 8 ประกอบไปด้วย
1. สัมมาทิฏฐิ – มีปัญญาเห็นชอบ หมายถึง ปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมตามความเป็นจริงด้วยสติและปัญญา
2. สัมมาสังกัปปะ – ดำริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม ไม่หลุมหลงมัวเมาในสิ่งไม่ดี
3. สัมมาวาจา – เจรจาชอบ หมายถึง การพูดต้องสุภาพ แต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม ไม่พูดเพ้อเจ้อไร้สาระ
4. สัมมากัมมันตะ – ความประพฤติชอบ หมายถึง การประพฤติดีงาม อยู่ในทำนองคลองธรรม
5. สัมมาอาชีวะ – การมีอาชีพชอบ หมายถึง การทำมาหากินอย่างสุจริตชน ไม่คดโกง ไม่เอาเปรียบหรือเบียดเบียนผู้อื่น
6. สัมมาวายามะ – การมีความมานะชอบ หมายถึง ความอุตสาหะพยายาม มีความอดทนต่อการปฏิบัติงานใดๆ7. สัมมาสติ – การมีสติชอบ หมายถึง การมีสติ ใช้สติอยู่ตลอดเวลา ไม่ทำจิตให้เลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ
8. สัมมาสมาธิ – การมีสมาธิชอบ หมายถึง การฝึกจิตให้สงบและตั้งมั่น เพื่อให้ปราศจากกิเลสและนิวรณ์อยู่เสมอ
ดังนั้นคนเราควรศึกษาเรื่องมรรค 8 นี้ให้ถี่ถ้วนและนำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อประโยชน์และความสุขของเราเอง







วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การทำบุณ

ชาวพุทธส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิด เกี่ยวกับเรื่องของ "บุญ" ซึ่งคิดเพียงแต่ว่า การทำบุญก็คือ การตักบาตร การถวายปัจจัย ถวายทรัพย์ การถวายสังฆทาน ฯลฯ เพียงเท่านี้เป็นต้น ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว การทำบุญยังสามารถทำได้อีกหลายทาง

"บุญ" หรือ "ปุญญ" แปลว่า ชำระ หมายถึงการทำให้หมดจด ปราศจากมลทิน เครื่องเศร้าหมอง อันได้แก่ ความโลภ (โลภะ) ความโกรธ (โทสะ) และ ความหลง (โมหะ) ซึ่งเราสามารถ สร้าง บุญ ได้ 10 ทาง ซึ่งเรียกว่า บุญกริยาวัตถุ 10 เพื่อกำจัดเครื่องเศร้าหมองทั้ง 3 ข้างต้น คือ

๑. ทาน หรือ การให้ เพื่อกำจัด ความโลภ เป็นการให้สิ่งที่ตนมี หรือ ตนเป็นเจ้าของ แก่บุคคลอื่นๆ ทั้งทรัพย์สินเงินทอง ความรู้ ความสามารถ ก็สามารถให้ได้ทั้งนั้น เช่น การตักบาตร การบริจาคทรัพย์ ถวายสังฆทาน การสอน การให้การอบรมตักเตือน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ถือเป็น การบริจาค การให้ (จาคะ) เพราะจะทำให้จิตใจสดชื่น แจ่มใส จากการให้ อย่างไม่หวังผลตอบแทน และ ไม่หวงแหน ทำลายความตระหนี่ได้ ซึ่งนับเป็นบุญอย่างหนึ่ง แต่การให้บางอย่างก็ไม่สมควรให้เพราะจะทำให้บุคคลอื่นเกิดโทษ หรือ ทำบาปได้ เช่น สุรา หรือ มหรสพ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดกามคุณ เป็นต้น

๒. ศีล หรือ การรักษาศีล เพื่อกำจัด ความโกรธ คือ ความประพฤติที่ไม่ละเมิด หรือ รักษาความสำรวม ทางกาย วาจา และ ใจไว้ อย่างเช่น การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการลักทรัพย์ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม งดเว้นจากการพูดเท็จ หรือ พูดส่อเสียด และ งดเว้นจากการดื่มสุรา หรือ เสพสิ่งเสพติด เป็นต้น

๓. ภาวนา หรือ การนั่งสมาธิ วิปัสนา เป็นการ การอบรมจิต ทำให้มีความรู้ ความเข้าใจ เพื่อกำจัด ความหลง

๔. ความเป็นผู้นอบน้อม ต่อผู้ที่ควรนอบน้อม (อปจายนะ) เมื่อเราเป็นผู้อ่อนน้อม ถ่อมตน จะทำให้จิตใจเรานั้นอ่อนโยนลง ทำให้เข้าใจถึงความสำคัญของบุคคลอื่น ไม่ทำร้ายบุคคลอื่น และ ไม่หลงตนเอง

๕. ความขวนขวายในกิจ หรือ งาน ที่ควรกระทำ (เวยยาวัจจะ) การงานที่ทำไม่ว่าทำงานอะไร การตั้งใจทำงานนั้นให้ประสบความสำเร็จ มุ่งมั่นตั้งใจ จะทำให้จิตใจของเรานั้น มีสมาธิการในช่วงเวลาของการทำงานนั้นๆ เป็นการฝึกสมาธิอีกทางหนึ่ง

๖. การให้บุญที่ตนถึงแล้ว แก่บุคคลอื่น (ปัตติทาน) เช่นการอุทิศแผ่ส่วนบุญ ส่วนกุศล การกวดน้ำ เป็นต้น การทำเช่นนี้ทำให้จิตใจเรานั้น มีความอ่อนโยน ปราถนาดีให้กับบุคคลอื่น ต้องการให้บุคคลอื่น มีความสุขเช่นเดียวกันตน เมื่อจิตใจเป็นเช่นนี้ การทำผิดศีล ก็จะไม่เกิดขึ้น อีกทั้งยังสร้างความเมตตา กรุณา ในใจของเราอีกด้วย

๗. การยินดีในบุญที่คนอื่นถึงพร้อม (ปัตตานุโมทนา) เช่น เห็นคนอื่น ทำบุญตักบาตร เมื่อเราพลอยปลื้มปิติยินดี กล่าวอนุโมทนา เพียงเท่านี้ก็ได้บุญแล้ว เพราะ การยินดีกับบุญที่บุคคลอื่นทำ นั่นหมายถึง เรามีมุทิตาจิต ทำให้จิตใจเราผ่องใสขึ้น ทำให้ละความโกรธ และ ความหลง ลงได้

๘. การฟังธรรม (ธัมมัสสวนะ) ไม่ว่าจะฟังธรรมโดยตรง หรือ จากสื่อวิทยุ โทรทัศน์ จาก CD, VDO, หรือ MP3 ก็ตาม ก็จัดว่าเป็นการฟังธรรมทั้งสิ้น การฟังธรรม และ นำธรรมะที่ได้รับนั้นไปปฏิบัติ จะทำให้เรามีจิตใจที่อ่อนโยน มีการประพฤติปฏิบัติตนได้ถูกต้อง ไม่ทำผิดศีล เกรงกลัวต่อบาป และ ยังทำให้เรามีสติ มีสมาธิ อีกด้วย

๙. การแสดงธรรม (ธัมมเทศนา) เมื่อได้ศึกษาธรรมะแล้ว การถ่ายทอดให้แก่บุคคลอื่น นับเป็นบุญประการหนึ่งด้วย เพราะได้ทำให้คนอีกหลายๆคน ได้มีมุมมองการใช้ชีวิตที่ถูกต้อง ตามธรรมะที่แสดงไปนั้น และ เท่ากับเป็นการสืบทอดพระศาสนาของพระบรมศาสดาด้วย แต่ไม่ทุกคนที่จะสามารถแสดงธรรมได้ถูกต้อง หากตนเองไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ ก็อาจจะเพียงแนะนำให้บุคคลอื่นได้ไปอ่าน ไปศึกษา หลักธรรม เพียงเท่านี้ ก็ได้บุญแล้วเช่นกัน
"การให้ธรรมะ ชนะการให้ทั้งปวง"


๑๐. การกระทำความเห็นให้ตรง หรือ สัมมาทิฏฐิ (ทิฏฐุชุกรรม) การมีความคิดเห็นที่ตรง ที่ถูกต้องนั้น จะทำให้เราประพฤติปฏิบัติตน เป็นคนดี สามารถละเว้นความชั่ว หรือ ทิฏฐิ ของตนได้ ซึ่งเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีความคิดเห็นที่ตรงนั้น ต้องศึกษาอย่างจริงๆจังๆ และ ต้องหัดสังเกตุตนเองอยู่บ่อยๆ เมื่อทำเช่นนี้ ก็จะทำให้เรา สติ อยู่กับตนเอง การมีสติ ก็จะทำให้เรางดเว้นการทำบาปทั้งปวงเช่นกัน




เทคโนโลยี

เทคโนโลยี หรือ ประยุกตวิทยา [1] หรือ เทคนิควิทยา [2] มีความหมายค่อนข้างกว้าง โดยทั่วไปหมายถึง การนำความรู้ทางธรรมชาติวิทยาและต่อเนื่องมาถึงวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่งองค์ความรู้นามธรรมเช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น [2]
เทคโนโลยีก่อเกิดผลกระทบต่อสังคมและในพื้นที่ที่มีเทคโนโลยีเข้าไปเกี่ยวข้องในหลายรูปแบบ เทคโนโลยีได้ช่วยให้สังคมหลาย ๆ แห่งเกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากขึ้นซึ่งรวมทั้งเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน ในหลาย ๆ ขั้นตอนของการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีได้ก่อให้ผลผลิตที่ไม่ต้องการ หรือเรียกว่ามลภาวะ เกิดการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีหลาย ๆ อย่างที่ถูกนำมาใช้มีผลต่อค่านิยมและวัฒนธรรมของสังคม เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นก็มักจะถูกตั้งคำถามทางจริยธรรม
  เทคโนโลยี (Technology) คือ การใช้ความรู้ เครื่องมือ ความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการตลอดจน ผลงานทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ่งประดิษฐ์และวิธีการ มาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่ง ขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น

Technology

การนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานในสาขาใดสาขาหนึ่งนั้นเทคโนโลยี มีความสำคัญ 3 ประการ คือ
          1.ประสิทธิภาพ (Efficiency) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้ เที่ยงตรงและรวดเร็ว
          2.ประสิทธิผล (Productivity) เกิดผลผลิตเต็มที่ ได้ประสิทธิผลสูงสุด
          3.ประหยัด (Economy) ประหยัดทั้งเวลาและแรงงาน ลงทุนน้อยแต่ได้ผลมาก

ความสำคัญของเทคโนโลยี
          1.เป็นพื้นฐานปัจจัยจำเป็นในการดำเนินชีวิตของมนุษย์
          2.เป็นปัจจัยหลักที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนา
          3.เป็นเรื่องราวของมนุษย์ และธรรมชาติ

          ในช่วงสองทศวรรษทีผ่านมา วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี ได้มีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้นจนสามารถสร้างนวัตกรรม (Innovation) ซึงก็คือ การเรียนรู้ การผลิตและ การใช้ประโยชน์จากความคิดใหม่ ให้เกิดผลทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม เทคโนโลยีทำให้สังคมโลกทีเ รียบง่าย กลายเป็นสังคมที่มีการดำรงชีวิตที สลับซับซ้อนมากขึ้น ก่อให้เกิดกระแสแห่งความไร้พรมแดน หรือกระแสโลกาภิวัฒน์ ทีเข้ามาสู่ทุกประเทศอย่าง รวดเร็ว จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ อันเป็นการผสมผสาน 4 ศาสตร์ เข้าด้วยกันได้แก่ อิเล็อทรอ นิกส์ โทรคมนาคม และข่าวสาร (Electronics , Computer ,Telecomunication and Information หรือเรียกย่อๆ ว่า ECTI ) ทำให้สังคมโลกสามารถสื่อสารกันได้ทุกแห่งทั่วโลกอย่างรวดเร็ว สามารถรับรู้ข่าวสาร ความเคลื อนไหวต่างๆ ได้พร้อมกัน สามารถบริหารจัดการและตัดสินใจได้ทุกขณะเวลา การลงทุนค้าขาย และธุรกรรมการเงินทได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น เทคโนโลยี กำลังทำให้โลกใบนี้ “เล็กลง” ทุกขณะ

วิวัฒนาการเทคโนโลยี (Evolution of Technolgy)
          เทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาเมื่อเวลาผ่านไปขั้นตอนการเปลี่ยนนแปลงขึ้นอยู่กับกระบวนการทางวิวัฒนาการ (Evolution) ของระบบหรือเครื่องมือนั้นๆ ดังนั้นคำว่าวิวัฒนาการของเทคโนโลยี (Evolution of Technology) จึงหมายถึง ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบหรือเครื่องมือที่เกิดขึ้นอย่างซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงตามลำดับอย่างต่อเนื่องอันมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่างๆ

วิวัฒนาการสามารถแบ่งได้เป็น 5 ยุค
          - ยุคหิน (Stone age)
          - ยุคทองสัมฤทธิ์ ( Bronze age)
          - ยุคเหล็ก (Iron age)
          - ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution)
          - ยุคศตวรรษที่ 20 (The 20th Century)

ความสัมพันธ์ระหว่าง เทคโนโลยี กับ นวัตกรรม
          คำว่า นวัตกรรม เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับ เทคโนโลยี เสมอๆ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Innotech ความจริงแล้ว นวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเนื่องจากนวัตกรรมเป็นเรื่องของการคิดค้นหรือการกระทำใหม่ ๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นซึ่งอาจจะอยู่ในขั้นของการเสนอความคิดหรือในขั้นของการทดลองอยู่ก็ได้ ยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของสังคม ส่วนเทคโนโลยีนั้นมุ่งไปที่การนำสิ่งต่าง ๆรวมทั้งวิธีการเข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำงาน หรือแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ถ้าหากพิจารณาว่านวัตกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นี้น่าจะนำมาใช้ การนำเอานวัตกรรมเข้ามาใช้นี้ ก็จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีด้วย และในการใช้เทคโนโลยีนี้ถ้าเราทำให้เกิดวิธีการหรือสิ่งใหม่ๆ ขึ้น สิ่งนั้นก็เรียกว่าเป็นนวัตกรรม เราจึงมักเห็นคำ นวัตกรรม และ เทคโนโลยี อยู่ควบคู่กันเสมอ